คำถามอยู่บ่อยว่า เติร์ก (Turk) กับ มองโกล (Mongol) เป็นชนกลุ่มเดียวกันไหม คำตอบคือเติร์กกับจีนและมองโกลเป็นชนสามกลุ่ม มีต้นกำเนิดคนละที่ ภาษาแตกต่างกัน คนจีนมีพื้นเพอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเชีย ขณะที่มองโกลค่อนไปทางเหนือ ส่วนชนชาวเติร์กร่างกายบึกบึนสูงใหญ่มีพื้นเพอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย
พักนี้กลิ่นไอของสงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดขึ้นถี่ จะเกิดเมื่อไหร่ ระหว่างใครนั้นไม่ทราบ แต่สงครามใหญ่มักมีสงครามย่อยเป็นชนวนเสมอ ความขัดแย้งระหว่างกรีซกับตุรกีเวลานี้อาจเป็นหนึ่งในชนวน คำถามมีว่าทั้งกรีซและตุรกีต่างเป็นสมาชิกองค์การนาโต้เหตุใดจึงมาขัดแย้งกันเอง เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ลากยาวย้อนกลับไปได้นานนับพันปี เห็นใจทั้งกรีซและตุรกีที่แต่ละฝ่ายมีจุดยืนของตนเอง องค์การนาโต้ที่กำลังเกรงการเติบใหญ่ของจีนและรัสเซียคงไม่กล้าเสี่ยงที่จะให้ความขัดแย้งนี้บานปลายจึงขออย่าได้ห่วง ความขัดแย้งที่มีรากมาจากประวัติศาสตร์เยียวยาตัวมันเองได้เสมอ
าณาจักรอิสลามผ่านจากยุคสมัยรอซิดุนคอลีฟะฮฺ (ค.ศ.632-661) สู่ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ (ค.ศ.661-750) ย้ายนครหลวงจากมะดีนะฮฺสู่ดามัสกัส ก่อนผ่านมือสู่ราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ (ค.ศ.750-1258) ย้ายนครหลวงสู่แบกแดดสร้างยุคสมัยที่เรียกว่า #ยุคทองของอิสลาม สร้างสถาบันไบตุลฮิกมะฮฺ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลากหลายสาขากระทั่งเป็นรากฐานให้กับการฟื้นตัวของยุโรปในยุคเรเนสซองค์
มัมลุกส์ (مملوك Mamluke) เป็นภาษาอาหรับแปลว่า “ถูกเป็นเจ้าของ” (Owned) หรือพวกทาสนั่นเอง เป็นทาสที่แตกต่างจากทาสทั่วไปโดยเป็น ทหารทาส หรือทาสที่นำมาฝึกเป็นทหารหรือเป็นผู้ดูแลทหาร มีสถานะแตกต่างจากทาสทั่วไปตรงที่ถืออาวุธได้ มัมลุกส์มีมาตั้งแต่ยุคก่อนการมาของอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 มีมานานตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ
นับจากสงครามเย็นสิ้นสุด “อิสลามการเมือง” (Political Islam) หรือ กลุ่มแนวคิดอุดมการณ์การเมืองที่มีฐานราก วิธีการ และเป้าหมายที่ยึดโยงกับหลักคำสอนของอิสลาม ถือเป็น กระแสที่ได้รับความสนใจจากสังคมโลกในฐานะที่เป็นอุดมการณ์การเมืองที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อแนวคิดเสรีนิยมตะวันตก
“สังคมนิยมอาหรับ” (Arab Socialism) เป็นคำที่ยังมีความหมายคลุมเครือ ไม่ค่อยมีการอธิบายที่ชัดเจนมากนัก แต่ผมขออนุญาตตีความแบบสรุปอย่างนี้ว่า มันเป็นอุดมการณ์ที่อธิบายเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจของลัทธินัซเซอร์ (Nasserism) ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของรัฐอียิปต์ช่วงทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 และของลัทธิบา’อัท (Ba’athism) ของอิรักและซีเรียนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เรื่อยมา