อาหรับศึกษา

เปิดเหตุผลการเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ไทย – ซาอุดิอาระเบีย

โดย ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบั.

กระแส “อิสลามการเมือง” ในตะวันออกกลาง

นับจากสงครามเย็นสิ้นสุด “อิสลามการเมือง” (Political Islam) หรือ กลุ่มแนวคิดอุดมการณ์การเมืองที่มีฐานราก วิธีการ และเป้าหมายที่ยึดโยงกับหลักคำสอนของอิสลาม ถือเป็น กระแสที่ได้รับความสนใจจากสังคมโลกในฐานะที่เป็นอุดมการณ์การเมืองที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อแนวคิดเสรีนิยมตะวันตก

ลัทธิสังคมนิยมอาหรับ

“สังคมนิยมอาหรับ” (Arab Socialism) เป็นคำที่ยังมีความหมายคลุมเครือ ไม่ค่อยมีการอธิบายที่ชัดเจนมากนัก แต่ผมขออนุญาตตีความแบบสรุปอย่างนี้ว่า มันเป็นอุดมการณ์ที่อธิบายเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจของลัทธินัซเซอร์ (Nasserism) ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของรัฐอียิปต์ช่วงทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 และของลัทธิบา’อัท (Ba’athism) ของอิรักและซีเรียนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เรื่อยมา

อุดมการณ์ชาตินิยมอาหรับ

อุดมการณ์ “ชาตินิยมอาหรับ” (Arab Nationalism) ถือเป็นพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนการเมืองของโลกอาหรับนับตั้งแต่ยุคอาณานิคมในตะวันออกกลางจนถึงปัจจุบัน ชาวอาหรับจำนวนไม่น้อย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในเมือง) มีความรู้สึกสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่เรียกว่า “ชาติอาหรับ” (Arab Nation: al Ummah al-Arabiyya) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งอย่างเป็นทางการมากขึ้นว่า “อัล-เกาม์มียะห์ อัล-อะรอบียะห์” (al-Qawmmiyya al- Arabiyya)

ระบบอาณัติของสันนิบาตชาติ

คำว่า “Mandate” หรือที่ภาษาไทยเราใช้คำว่า “อาณัติ” นั้น หมายถึงอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากสันนิบาตชาติ (League of Nations) ให้ชาติสมาชิกปกครองดูแลดินแดนอาณานิคมเดิมหรือดินแดนที่พิชิตได้อื่น ๆ โดยเรียกดินแดนเหล่านี้ว่า “ดินแดนใต้อาณัติ” (Mandate territory)

ตะวันออกกลางยุคอาณานิคมและการก่อเกิดรัฐสมัยใหม่ (ตอนจบ)

ฝรั่งเศสแยกพื้นที่ส่วนหนึ่งจากดินแดนในซีเรียออกมาจัดตั้ง เลบานอนใหญ่ (Greater Lebanon) ในปี ค.ศ. 1920 ตามข้อตกลงไซคส์ – พิโกต์ที่ทำไว้กับอังกฤษ เลบานอนไม่เคยเป็นรัฐที่มีอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมันที่ประกอบไปด้วยชาวคริสเตียนมาโรไนต์เป็นส่วนใหญ่ และชาวอาหรับมุสลิมเป็นส่วนน้อย

ตะวันออกกลางยุคอาณานิคมและการก่อเกิดรัฐสมัยใหม่ ตอนที่ 3

คำประกาศบัลโฟร์ (Balfour Declaration) ซึ่งมีชื่อเรียกตามชื่อของรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษสมัยนั้น คือ เซอร์ อาร์เธอร์ เจมส์ บัลโฟร์ (Sir Arthur James Balfour) ระบุว่ารัฐบาลอังกฤษให้ความเห็นชอบในการตั้งถิ่นฐานสำหรับชาวยิวขึ้นแห่งหนึ่งในประเทศปาเลสไตน์ คำแถลงการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การอพยพของชาวยิวจากยุโรปตะวันออกและรัสเซีย มาสู่ดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติของอังกฤษ

ตะวันออกกลางยุคอาณานิคมและการก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ ตอนที่ 2

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาติมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับอาณาเขตดินแดนภายในอาณาจักรออตโตมันกับหลายฝ่าย ถึงแม้ว่าทุกข้อตกลงจะมีจุดร่วมเหมือนกันคือการแบ่งแยกดินแดนภายในอาณาจักรออตโตมันเดิม ทว่าแต่ละชาติต่างไม่ลงรอยกันในเรื่องของรูปแบบของการปกครองพื้นที่ดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากกรณีของการตัดสินเรื่องดินแดนในปาเลสไตน์ว่าจะให้ฝ่ายใดครอบครอง

ตะวันออกกลางยุคอาณานิคมและการก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ ตอนที่ 1

หลายคนถามถึงต้นตอของความวุ่นวายในตะวันออกกลาง แต่คำถามอย่างนี้มันกว้าง และสามารถตอบได้หลายแนวทาง ถึงอย่างนั้น ผมอยากเสนอภาพของตะวันออกกลางในยุคอาณานิคมและการกำเนิดรัฐสมัยใหม่เพื่อสะท้อนให้เห็นรากฐานปัญหาที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเนื่ิองต่อตะวันออกกลางและโลกมาจนถึงวันนี้

ไทย-ซาอุดิอาระเบีย: จากสัมพันธ์แตกร้าวสู่ก้าวย่างแห่ง “มิตรภาพใหม่”

ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย ให้สัมภาษณ์ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2020 ว่าตนเองได้เดินทางเยือนประเทศบาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน พร้อมทั้งกล่าวว่า การเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียนั้น เป็นการเดินทางเยือนตามคำเชิญของฝ่ายซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีการนัดหมายกันไว้ล่วงหน้าและยังถือเป็นการเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศไทยในรอบ 30 ปี