ตุรกีศึกษา

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 9

จีนเป็นประเทศที่ทั้งเก่าแก่ยาวนานหลายพันปี ทั้งมีขนาดใหญ่โต อีกทั้งยังสร้างอารยธรรมขึ้นอย่างโดดเด่น กว่าจีนจะยิ่งใหญ่อย่างที่เห็น อาณาจักรผ่านการแบ่งแยกมาหลายครั้งหลายหน เป็นราชวงศ์เหนือใต้ ตะวันออก ตะวันตก หลายครั้งยังแบ่งเป็นหลายแคว้น หลายมณฑล หลายรัฐ หลายเผ่าผ่านการปกครองโดยชนหลายกลุ่ม

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 8

ชนเติร์ก (Turkic peoples) นับเป็นชนโบราณ พบเรื่องราวของชนกลุ่มนี้ตั้งแต่ 2,200 ปีก่อนคริสตกาลโดยพบครั้งแรกทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องไปทางไซบีเรีย ชนกลุ่มนี้อพยพโยกย้ายไปทางตะวันตกปะปนกับชนดั้งเดิมก่อนกระจายไปตลอดพื้นที่เอเชียกลางและเอเชียเหนือ

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 7

ตอนที่แล้วเขียนถึง “เซียงหนู” (Xiongnu) หรือซงหนูซึ่งเป็นเติร์กเผ่าหนึ่ง ในตอนนี้ขอกล่าวถึงเติร์กโบราณอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “ฮั่น” (Huns) ภาษาอังกฤษสะกดด้วย U คนจีนเรียกชนกลุ่มนี้ว่าเซียงหนู ชนโบราณทั้งสองกลุ่มจึงเป็นชนกลุ่มเดียวกัน ยังมีชนอีกกลุ่มหนึ่งในภาษาจีนเรียกว่า “ฮัน” หรือ “หัน” (Hans) ภาษาอังกฤษสะกดด้วย A หมายถึงคนจีนส่วนใหญ่ที่พบในประเทศจีนและทั่วโลกเวลานี้

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 6

ประวัติศาสตร์จีนเริ่มมานานกว่า 5-6 พันปี ยุคแรกที่เริ่มก่อตั้งอาณาจักรซึ่งนานเป็นสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชนชาวจีนต้องรบทัพจับศึกกับชนหลายกลุ่มที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าและขุนเขาทางเหนือ ชนโบราณกลุ่มหนึ่งที่อาณาจักรจีนยุคแรกต้องทำสงครามอยู่บ่อยคือ “เซียงหนู” (Xiongnu) หรือที่เรียกกันในบ้านเราว่า “ซงหนู”

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 5

ชนชาวเติร์ก ในโลกวันนี้กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ จำนวนมากที่สุดคือเตอร์กิชในประเทศตุรกีและไซปรัสมีอยู่ 75 ล้านคน รองลงมาคืออะเซอร์ไบจานิสในประเทศอาเซอร์ไบจันมีประมาณ 31 ล้านคน อุซเบกในประเทศอุซเบกิสถาน 31 ล้านคน

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 4

เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูน.

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 3

คนเชื้อสายเติร์กในโลกทุกวันนี้มีอยู่ 160-180 ล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในประเทศตุรกี อีกครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ตามประเทศต่างๆในเอเชียกลาง โดยเป็นประชากรส่วนใหญ่ในคาซักสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน กีร์จิสถาน เป็นประชากรส่วนสำคัญในทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน อิหร่าน อะเซอร์ไบจัน จีน รัสเซีย มองโกเลีย เป็นประชากรกลุ่มน้อยในยุโรป

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 2

คำถามอยู่บ่อยว่า เติร์ก (Turk) กับ มองโกล (Mongol) เป็นชนกลุ่มเดียวกันไหม คำตอบคือเติร์กกับจีนและมองโกลเป็นชนสามกลุ่ม มีต้นกำเนิดคนละที่ ภาษาแตกต่างกัน คนจีนมีพื้นเพอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเชีย ขณะที่มองโกลค่อนไปทางเหนือ ส่วนชนชาวเติร์กร่างกายบึกบึนสูงใหญ่มีพื้นเพอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 1

พักนี้กลิ่นไอของสงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดขึ้นถี่ จะเกิดเมื่อไหร่ ระหว่างใครนั้นไม่ทราบ แต่สงครามใหญ่มักมีสงครามย่อยเป็นชนวนเสมอ ความขัดแย้งระหว่างกรีซกับตุรกีเวลานี้อาจเป็นหนึ่งในชนวน คำถามมีว่าทั้งกรีซและตุรกีต่างเป็นสมาชิกองค์การนาโต้เหตุใดจึงมาขัดแย้งกันเอง เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ลากยาวย้อนกลับไปได้นานนับพันปี เห็นใจทั้งกรีซและตุรกีที่แต่ละฝ่ายมีจุดยืนของตนเอง องค์การนาโต้ที่กำลังเกรงการเติบใหญ่ของจีนและรัสเซียคงไม่กล้าเสี่ยงที่จะให้ความขัดแย้งนี้บานปลายจึงขออย่าได้ห่วง ความขัดแย้งที่มีรากมาจากประวัติศาสตร์เยียวยาตัวมันเองได้เสมอ

มัมลุกส์ – ทหารทาสผู้พิชิตมองโกลและนักรบครูเสดในประวัติศาสตร์อิสลาม ตอนที่ 2

าณาจักรอิสลามผ่านจากยุคสมัยรอซิดุนคอลีฟะฮฺ (ค.ศ.632-661) สู่ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ (ค.ศ.661-750) ย้ายนครหลวงจากมะดีนะฮฺสู่ดามัสกัส ก่อนผ่านมือสู่ราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ (ค.ศ.750-1258) ย้ายนครหลวงสู่แบกแดดสร้างยุคสมัยที่เรียกว่า #ยุคทองของอิสลาม สร้างสถาบันไบตุลฮิกมะฮฺ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลากหลายสาขากระทั่งเป็นรากฐานให้กับการฟื้นตัวของยุโรปในยุคเรเนสซองค์