ศูนย์มุสลิมศึกษา

ชวนอ่านบทความวิจัย การบริหารจัดการฮัจญ์ของซาอุดิอาระเบีย: สำรวจปัญหาการดำเนินกิจการฮัจญ์ของไทย และรูปแบบการจัดการของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์

ศูนย์มุสลิมศึกษาฯ ชวนทุกท่านอ่านบทความวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการฮัจญ์ของซาอุดิอาระเบีย: สำรวจปัญหาการดำเนินกิจการฮัจญ์ของไทย และรูปแบบการจัดการของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดย ศราวุฒิ อารีย์, อารีฝีน ยามา และ ซารีฮาน ขวัญคาวิน ซึ่งเผยแพร่ผ่าน วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565)

#GazaNakba2024

ย้อนกลับไปเมื่อ 76 ปีที่แล้วใน ค.ศ. 1948 สงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งแรกก่อผลให้ชาวปาเลสไตน์ต้องถูกบีบให้หนีออกจากแผ่นดินเกิดประมาณ 720,000-750,000 คน กลายเป็นวิกฤตผู้ลี้ภัยที่ทุกวันนี้ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข

MSC-Chula ชวนอ่านบทความวิจัย เรื่อง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับศาสนาอิสลามและการประยุกต์ใช้ของชุมชนมุสลิม”

ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา อยากชวนทุกท่านอ่านบทความวิจัยเรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับศาสนาอิสลามและการประยุกต์ใช้ของชุมชนมุสลิม โดย ดร.ศราวุฒิ อารีย์, นดา ศรีสอาด, ซารีฮาน ขวัญคาวิน และ ปารเมศ วิชัยดิษฐ ซึ่งเผยแพร่ผ่านวารสารอิสลามศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 2,2566

74 ปีโศกนาฏกรรมนักบะห์: ความจริงทางประวัติศาสตร์และภาระผูกพันด้านมนุษยธรรม

วันที่ 15 พฤษภาคม ของทุกปีถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งท่ามกลางสถานการณ์ในปาเลสไตน์ที่ร้อนระอุอยู่ตลอดเวลา วันสำคัญที่ว่าคือการรำลึกถึง “วันแห่งความหายนะ” หรือ “นักบะห์เดย์”

สรุปงานเสวนามุสลิมศึกษาออนไลน์ครั้งที่ 1: “Hajj and COVID-19: โรคระบาดส่งผลต่อกิจการฮัจญ์อย่างไร?”

สำหรับภารกิจฮัจญ์นั้น ถือเป็นหลักปฏิบัติอิสลามข้อที่ 5 ที่มีผลบังคับใช้สำหรับคนที่มีความสามารถ โดยในแต่ละปีรัฐบาลประเทศซาอุดิอาระเบียจะกำหนดโควตาให้กับทุกประเทศทั่วโลกที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ตามสัดส่วนประชากรทั้งหมด เพื่อจัดระเบียบด้านความปลอดภัย และความเรียบร้อยให้กับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในเทศกาลฮัจญ์ของทุกๆปี สำหรับประเทศไทยสัดส่วนผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ เฉลี่ยตกอยู่ที่ 12,000 คน แต่ถึงแม้ว่าจะมีโควตาที่แน่นอน ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามุสลิมประเทศไทยจะสามารถเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้ทุกปี

สรุปเรื่อง “องค์ประกอบทางศิลปกรรมของชาวตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะมุสลิม” จากหนังสือ Stealing from the Saracens: How Islamic Architecture shaped Europe (2020) โดย Diana Darke

ชื่อหนังสือก็จับใจจนทำให้อยากซื้อทันทีโดยไม่ต้องดูสารบัญ Stealing from the Saracens แปลตรงตัวว่า “ขโมยมาจากหัวขโมย” คำว่า “ขโมย” ในที่นี้หมายถึงชาวตะวันตกและ “หัวขโมย” คือมุสลิม ผู้เขียนเลือกใช้ชื่อนี้เพื่อเสียดสีฝรั่งที่อ้างว่าตนไม่ได้เป็นหนี้อะไรจากอารยธรรมอิสลาม ทั้งที่ศิลปะตะวันตกยุคกลางฟ้องว่ามี DNA ของศิลปะมุสลิมอยู่ชัด

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 18

ชนชาวเติร์กในลักษณะชนเผ่าสร้างรัฐเล็กๆขึ้นในหลายพื้นที่ของเอเชียกลาง ทั้งสามารถสร้างจักรวรรดิใหญ่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางขึ้นอย่างน้อยสองครั้งคือ “เซลจุก” (Seljuk ค.ศ.1037-1194) และ “ออตโตมัน” (Ottoman ค.ศ.1299-1922) หรือ “อุสมานียะฮฺ” จักรวรรดิเซลจุกอายุสั้นเพียงศตวรรษครึ่ง ขณะที่อุสมานียะฮฺมีอายุยาวนานกว่า 6 ศตวรรษ ทั้งสองจักรวรรดิเกี่ยวข้องกันโดยต่างเป็นชนเผ่าเติร์กเชื้อสายโอกุซ (Okhuz)

ชนชาวเติร์กกับพลังและโมเมนตัมที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์โลก ตอนที่ 17

ตุรกีคือพื้นที่หลักของชนเชื้อสายเติร์กที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมมาจากเอเชียกลาง การอพยพย้ายถิ่นของชาวเติร์กมายังอะนาโตเลียไม่ต่างจากคนยุโรปอพยพไปอเมริกาสักเท่าไหร่ ชาวเติร์กมีรกรากเดิมอยู่ในไซบีเรียตอนใต้ อพยพลงมาในพื้นที่เอเชียกลางตั้งแต่ยุคเริ่มประวัติศาสตร์ กระจายตัวสร้างอาณาจักรทั่วพื้นที่ ทว่าเติร์กส่วนมากเป็นชนเร่ร่อนเลี้ยงปศุสัตว์โยกย้ายถิ่นไปเรื่อย ชนเติร์กเมื่อเข้ารับอิสลามจึงง่ายต่อการโยกย้ายลงมาในพื้นที่ของเปอร์เซียตอนล่าง